มหาพรต
( Lent )เป็นศัพท์ภาษาอังกฤษ มาจากภาษาอังกฤษเก่า (แองโกลแซกซอน)
Lencten แปลว่า น้ำพุ หมายถึงระยะเวลา 40 วัน ก่อนฉลองปัสกา เป็นเวลาอุดมสมบูรณ์ของฝ่ายจิตใจ
ส่วน"มหาพรต" ภาษาไทยแปลว่า
การถือพรตครั้งใหญ่ คริสตังรุ่นก่อนเรียกมหาพรต เป็น
"เทศกาลศีลบวชใหญ่" เ พราะเป็นเทศกาลที่มีการโปรดศีลบวชใหญ่ (Major
Order) อันที่จริงกิจกรรม ที่สำคัญในเทศกาลมหาพรต ใน 3 ทศวรรษแรก
มิใช่การโปรดศีลบวช แต่เตรียมคริสตังสำรองรับศีลล้างบาป ไม่ได้เน้นการบำเพ็ญพรตเท่าไหร่นัก
มีการจำศีลอดอาหารกันแค่ 1 หรือ 2 วันก่อนปาสกาเท่านั้น หรืออย่างมาก
40 ชั่วโมงติดต่อกัน กฎหมายบังคับให้จำศีลอดอาหาร 40 วัน เกิดขึ้นครั้งแรกปลายศตวรรษที่
4 ภาษาลาตินเรียกว่า
Quadragesima เดิมกฎหมายนี้
มีไว้สำหรับผู้เตรียมตัวรับศีลล้างบาปมากกว่า การจำศีลนั้น
พระศาสนจักรตะวันตก บังคับทุกวันเว้นวันอาทิตย์ รวมทั้งหมด 6 อาทิตย์
เท่ากับ 36 วัน ยังขาดอีก 4 วัน ในศตวรรษที่ 7 จึงมีกฎให้เริ่มจำศีลตั้งแต่วันพุธรับเถ้า
แถมเข้าไปอีก 4 วัน เพื่อให้ครบกำหนด 40 วันพอดี
การจำศีลในระยะแรกๆ
เคร่งครัดมาก รับประทานอาหารได้เพียงมื้อเดียวตอนเย็น
ห้ามเนื้อ ปลา ไข่ นม แม้วันอาทิตย์ก็ห้ามรับประทานเนื้อ ต่อมาในศตวรรษที่
9 ได้มีการผ่อนผันลง อนุญาตให้รับประทานตอนเที่ยง แทนตอนเย็นได้
ต่อมาในศตวรรษที่ 13 อนุญาตให้รับประทานอาหารเบาๆ ตอนเย็นได้ และอณุญาตให้รับประทานปลา
และนมได้ ที่สุด สมเด็จพระสันตะปาปา ปอล ที่ 6 ทรงประกาศพระรัฐธรรมนูญ
Poenitemini ให้อดเนื้อเฉพาะวันพุธรับเถ้า และทุกวันศุกร์ในเทศกาลมหาพรต
ส่วนการจำศีลอดอาหาร บังคับเฉพาะวันพุธรับเถ้ากับวันศุกร์ศักสิทธิ์
เท่านั้น